Monday, August 23, 2010

E-office

1. E-office มีอะไรบ้าง
1.1 ระบบปฏิทินงานออนไลน์
1.2 ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า
1.3 ระบบ Call Center บริการหลังการขาย
1.4 ระบบเอกสาร ออนไลน์
1.5 ระบบขาย
1.6 ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์,จองห้องประชุม,รถยนต์
1.7 ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
1.8 ระบบจัดเก็บไฟล์
1.9 ระบบ Knowledge Base
1.10 ระบบจัดการสินค้า
1.11 ระบบจัดซื้อ
1.12 ระบบส่งSMS


2. ประวัติความเป็นมา E-office
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-office) คือการรับส่งเอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หนังสือเวียนต่าง ๆ ในแต่ละวันจะมีจำนวนมาก การดำเนินการดังกล่าวต้องมีการใช้ระบบทำสำเนากระดาษ ถ่ายเอกสาร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการดำเนินงาน อีกทั้งการรับส่งด้วยกระดาษต้องใช้คนส่ง เป็นการเดินทางของหนังสือที่ล่าช้า ยิ่งอยู่ระหว่างสาขาวิทยาบริการฯ ยิ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก การดำเนินการงานสำนักงานที่เกี่ยวกับเอกสารจึงสามารถก้าวมาใช้งานแบบ e-Office ได้ โดยการใช้เครือข่ายที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการเชื่อมโยง ทุกคณะ ทุกหน่วยงาน ทุกอาคาร ของมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายนี้ ขณะเดียวกันหน่วยงานทุกหน่วยงานมีความรู้ความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อเพื่อการรับส่งข้อมูลข่าวสาร จึงควรใช้ช่องทางการสื่อสารนี้เพื่อดำเนินการรับส่งเอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หนังสือเวียนต่าง ๆ ให้กับทุกหน่วยงานได้ การดำเนินการ e-Office ต้องเน้นในเรื่องความทันสมัย ความรวดเร็ว ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นงานระบบ e-Office ที่กำลังจะนำมาใช้จะเริ่มจากการนำเสนอทางเดียวในลักษณะหนังสือเวียนก่อน(ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสารแบบ PDF) ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้และนำเอาเรื่อง Security มาใช้ประกอบด้วย เพื่อนำไปสู่การนำเสนอให้มีการนำเอาลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) และวิธีการตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงนามต่างๆ


3. จุดประสงค์
จุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง


4. วัตถุประสงค์ของ E-office
เพื่อลดการใช้กระดาษตามนโยบายการบริหารงานเอกสารแบบ eOffice แล้วหันมาใช้ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์แทน การพัฒนาระบบ eoffice จะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาคมโลกทุกคน ทุกคนคือคนสำคัญที่จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของตัวเองตั้งแต่จุดเริ่มต้นรับเอกสารต้องแปลงเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำเข้าระบบ ส่วนผู้รับเอกสารที่ขอรับแต่กระดาษต้นฉบับแบบเดิมก็คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองโดย login เข้ามารับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบ eOffice แทน


5. เป้าหมายของ E-office
เป้าหมายของการใช้ระบบ eOffice จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับประชาคมทุกคนที่เป็นผู้ใช้ จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้เอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น เริ่มเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่วันนี้เรามีช่องทางหลายช่องทางในการสื่อสารอยู่แล้ว เช่น ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบค้นหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเมลล์ ระบบข่าวทาง Intranet เป็นต้น ลองเข้ามาใช้ดูก่อน ในอนาคตอันใกล้เราจะใช้ระบบ eOffice ร่วมกัน ถึงวันนั้นทุกคนจะได้ไม่รู้สึกว่าเราปรับตัวไม่ได้ หรือสิ่งนี้ทำไม่ได้ หรือเป็นของใหม่ยังไม่คุ้น


6. ข้อดี - ข้อเสียของ E-office
ข้อดี ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)
1. ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร
2. เพิ่ม ขีดความสามารถของพนักงานในการซื้อบ้าน ที่อยู่ไกลจากตัวเมืองได้ เนื่องจากบ้านที่อยู่
ในเมืองนั้นมีราคาแพง ซึ่งจะลดปัญหาเรื่องการเดินทาง
3. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการสามารถควบคุมตนเองได้
4. อนุญาตให้พนักงานที่มีความสามารถ และรอบรู้สามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้
5. บริษัทสามารถติดต่อกับตลาดและบริษัทต่างประเทศนอกเวลาทำงาน
6. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่างๆภายในสำนักงาน
7. การใช้เครื่องจักรแทนการปฏิบัติงานของมนุษย์เป็นการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานที่มนุษย์ทำ
อยู่ใหม่
8. ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
9. ประหยัดสถานที่จัดเก็บเอกสาร
10. เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บรวบรวมและค้นหา ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
11. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น ด้านแรงงาน ด้านเครื่องมือ และด้านสถานที่จัดเก็บเอกสาร
12. ปรับปรุงการปฏิบัติงานเป็นแบบโลกาวิวัฒน์ หรือสำนักงานเสมือนจริง (Virtual Office)
ลดขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในการจัดทำต้นฉบับ จัดทำสำเนา และทำลายเอกสาร
13. ลดภารกิจในการเดินทางไปประชุม มาเป็นการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์
14. ลดปัญหาการจัดทำ จัดเก็บเอกสารซ้ำซ้อน โดยใช้หลักการสำนักงานปราศจากเอกสาร
(Paperless Office)

ข้อเสีย ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)
1. ลดการติดต่อแบบตัวต่อตัว (face-to-face) ระหว่างพนักงานในบริษัท
2. ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าสูญเสียอำนาจการควบคุมลูกน้อง
3. การใช้ระบบอัตโนมัติในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเมื่อระบบการควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานผิดพลาด
4. มี การเปลี่ยนแปลง วิธีปฏิบัติงานอาจทำให้พนักงาน ไม่ยอมรับการ ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน และต้องการ การฝึกอบรมเพิ่มเติม
5. ผู้บริหารต้องลงทุนสูงซึ่งต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงาน ของพนักงาน


7. วิเคราะห์เหตุที่มี E-office นั้นเกิดขึ้นมาสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันอย่างไร
e-cffice สอดคล้องกับสังคมเป็นอย่างมากเพราะทำให้สังคมมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเพราะการทำงาน ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างมาก การดำเนินการ e-Office ต้องเน้นในเรื่องความทันสมัย ความรวดเร็ว ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นงานระบบ e-Office ที่กำลังจะนำมาใช้จะเริ่มจากการนำเสนอทางเดียวในลักษณะหนังสือเวียนก่อน(ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสารแบบ PDF) ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้และนำเอาเรื่อง Security มาใช้ประกอบด้วย เพื่อนำไปสู่การนำเสนอให้มีการนำเอาลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) และวิธีการตรวจสอบลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงนามต่างๆ

Friday, August 20, 2010

ตัวอย่างแผนการที่นำมาปรับปรุงใหม่

แผนการสอนที่นำมาปรับปรุงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ : ชื่อหน่วย ...................................เวลา..........ชั่วโมง
เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( องค์ประกอบของคำ , คำมูล ) เวลา ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่.................เดือน.......................พ.ศ......................
.............................................................................................................................
๑.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ท ๔.๑.๑ เข้าใจการสร้างคำไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา
๒. สาระสำคัญ
คำ มีความสำคัญกับการติดต่อสื่อในชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของคำ และรูปลักษณ์ของคำไทย เพื่อให้ทราบที่มาของการสร้างคำและสามารถนำคำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร
๓. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
๑. เข้าใจหลักการสร้างคำไทย คำ และ ความสัมพันธ์ของคำ
๔. จุดประสงค์การเรียนรู้
๒. บอกลักษณะของคำมูลได้
๓. สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๕. การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
.................................................................................................................................
๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. เสริมสร้างความรักในภาษาไทย ภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ
๒. รู้จักใช้คำได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๗. สาระการเรียนรู้
๑. องค์ประกอบของคำ
๒.รูปลักษณ์ของคำไทย ( คำมูล )
( รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก )
๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้)
๑. ทดสอบก่อนเรียน : ๒๐ นาที ครูรวบรวมกระดาษคำตอบและนำไปตรวจ แล้วแจ้งคะแนนในครั้งต่อไป
๒. : ครูพูดถึงการสร้างคำเป็นพื้นฐานของการใช้คำในภาษาไทย โดย รูปลักษณ์คำไทย มีหลายแบบ แล้วครูอธิบายถึงความสำคัญ และนำเข้าสู่บทเรียน รูปลักษณ์คำไทย
๓. : ครูแจกใบความรู้ นักเรียนศึกษาด้วยตัวเอง จากนั้นครูอธิบายประกอบใบความรู้
๔. นักเรียนสรุปข้อมูลความรู้จากใบความรู้ และตัวแทนอ่านผลการสรุปให้เพื่อนฟัง
๕. ครูแจกใบงาน ให้นักเรียนอ่านทบทวนคำสั่งให้ครูฟัง
๖. ครูตรวจสอบผลงาน จากการร่วมทำกิจกรรมของนักเรียน
๗. ครูสรุปความรู้เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( คำมูล ) ให้นักเรียนจดบันทึกไว้ในสมุด
๘. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้า รวบรวมเกี่ยวกับเรื่อง คำมูล รวบรวมพิมพ์เสนอออกเป็นชิ้นงานส่ง
๙. แบบทดสอบหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบคะแนนระหว่างการทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ
๙. การวัดผลและประเมินผล
๙.๑ ผู้ประเมิน
๑. ครูผู้สอน
๒. นักเรียน
๓. ผู้ปกครอง
๙.๒ ประเด็นการประเมิน
๑. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
๒. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
๓. ผลงาน
๙.๓ วิธีการวัดและประเมินผล
๑. สังเกตความถูกต้องในการตั้งคำถาม และการตอบคำถาม
๒. ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๓. สังเกตการร่วมกิจกรรม
๔. ตรวจผลงาน
๙.๔ เครื่องมือการประเมิน
๑. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๒. แบบสังเกตการร่วมกิจกรรม
๓. แบบการตรวจผลงาน
๙.๕ เกณฑ์การวัดและประเมินผล
๑๐. ถ้ามีนักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูสอนซ่อมเสริมให้เฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ

การบ้านวิชานวัตกรรม

1. ชื่อ นวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา เมื่อใด

ตอบ นวัตกรรม Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

- ประเภทนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา

2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน

4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล

5. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา

6. นวัตกรรมด้านการประเมินผล

- ผู้พัฒนา

ผู้ที่พัฒนานวัตกรรมต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R)



2. ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

ตอบ “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

- วัตถุประสงค์ในการพัฒนา

1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมในด้านการเรียนการสอน

1.1 การระบุปัญหา

1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย

1.3 การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ

1.4 การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม

1.5 การทดลองใช้

1.6 การเผยแพร่

1.7 การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น



3. ขั้นตอนการพัฒนา

ตอบ 1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม

2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย

3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม

3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน

4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม

5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น

6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ

7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง

8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7

9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย

10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม



4. ลักษณะของนวัตกรรม

ตอบ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้น มาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

4. เป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการทดลอง



5. ผลการนำไปทดลองใช้

ตอบ ผลการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ในการศึกษานั้นเป็นการนำเอานวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา ว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างต้องระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด เครื่องมือที่ใช้วัดได้แก่ แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ และกำหนดแนวทาง สรุปผลการทดลองใช้



6. ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ตอบ - ข้อดีเด่นของนวัตกรรม นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการพัฒนาในการเรียนการสอนและผลสำริดที่ดีต่อผู้เรียนและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ

- ข้อจำกัดของนวัตกรรม

1. ข้อจำกัดทางด้านบุคลาการ ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ที่ดีพอ หรือไม่เข้าใจกระบวนการในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะ ไม่มีความรู้ดีพอ หรือ ไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่

2. ความจำกัดทางด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

3. การขาดการสนับสนุนที่เพียงพอจากสถานศึกษา

- ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน นวัตกรรมเป็นทรัพยากรที่มีคูณค่ามาหาศาล เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด นำไปใช้ในการพัฒนาระบบของการศึกษา เพราะระบบการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นนวัตกรรมเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่พัฒนาระบบการศึกษา แต่ยังครอบคลุมทุกหน่อยงานในสังคม ดังนั้นเราต้องตระหนักถึงคุณค่าของนวัตกรรมเทคโนโลยีให้มากที่สุดและใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธี

Tuesday, July 13, 2010

สื่อการเรียนการสอน

นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน

การนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. สื่อเสริม (Supplementary)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-learningแล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันในนี้ในลักษณะอื่นๆเช่น จากเอกสารประกอบการสอน (Sheet) จากวีดิทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-learning ในลักษณะนี้ เท่ากับว่า ผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น

2. สื่อเติม (Complementary)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-learning ในประเทศไทย หากสถาบันใดต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-learning ไปใช้ในการเรียนการสอนตามปกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้วอย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ ในลักษณะของสื่อเติม(Complementary) มากกว่า แค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-learning เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในประเทศไทย ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ

3. สื่อหลัก (Comprehensive Replacement)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมด ออนไลน์ ในปัจจุบัน e-learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดียที่นำเสนอทาง e-learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอน

Monday, July 12, 2010

จุดเริ่มต้นของระบบการศึกษาไทย

ความเป็นมาของระบบการศึกษาไทย

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 700 ปี ถ้านับตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี แต่เหมือนกับทุกสังคมที่เป็นสังคมเกษตรจะถูกแบ่งเป็นชนชั้นปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง ในชนชั้นปกครองถ้าพูดอย่างกว้างๆ ก็จะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นผู้บริหารประเทศกับผู้นำทางศาสนา ในส่วนของผู้ใต้ปกครองก็มักจะเป็นเกษตรกรหรือพ่อค้าวาณิชที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยน
ในกลุ่มนักปกครองนั้นจะต้องมีทักษะพิเศษคือการรู้หนังสือเพื่อใช้ในการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร การร่างกฎหมายและกฎระเบียบ การเก็บประวัติความเป็นมาของสังคม การรู้หนังสือจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้มีความรู้เพราะอ่านออกเขียนได้ และเป็นการบ่งชี้ถึงการเป็นคนที่อยู่บันไดสังคมขั้นสูง ส่วนคนที่เป็นเกษตรกรนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้หนังสือเลยก็ได้ แต่ขณะเดียวกันพ่อค้าวาณิชที่อยู่ในชุมชนเมืองมีความจำเป็นต้องจดบันทึกสินค้าที่มีคนซื้อโดยเชื่อเงินไว้ก่อน รวมทั้งต้องมีความสามารถในการเขียนตัวเลขเพื่อบอกจำนวนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาหรือขายออกไป
การศึกษาหรือการเรียนในสังคมโบราณนั้นจึงมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองซึ่งต้องมีความรู้ในระดับที่สูงเพื่ออ่านเอกสารที่ซับซ้อน เช่น กฎหมายต่างๆ ขณะเดียวกันผู้นำทางศาสนาก็ต้องอ่านภาษาที่เป็นนามธรรมซับซ้อนและลึกซึ้งเช่นเดียวกัน และส่วนใหญ่มักจะมาจากอารยธรรมที่เหนือกว่า ในส่วนของพ่อค้าวาณิชจุดเน้นมักจะอยู่ที่การอ่าน การเขียน และตัวเลข
สังคมลักษณะเยี่ยงนี้ก็สามารถดำเนินไปได้ ประเด็นสำคัญก็คือการศึกษาที่มีอยู่ในสังคมส่วนใหญ่จะมีเฉพาะบุคคลที่เป็นชนชั้นปกครองโดยมีการสอนเป็นส่วนตัวจากผู้รู้ภายในสังคมนั้นหรือมาจากต่างถิ่น ส่วนชนชั้นล่างก็ต้องศึกษาจากสถานศาสนา เช่น การบวชเป็นพระจึงศึกษาบาลีสันสกฤตและความคิดที่เป็นนามธรรมจนสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การศึกษาตำราพิชัยสงคราม ฯลฯ
โอกาสการเคลื่อนไหวทางสังคมของชนชั้นล่างจึงมีโอกาสเพียงการเติบโตได้ดิบได้ดีในองค์กรศาสนา หรือการรบทัพจับศึกจนเป็นแม่ทัพผู้แกล้วกล้า ส่วนการจะเข้ารับราชการเป็นขุนน้ำขุนนางนั้นอาจจะทำไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องมีทั้งความรู้ คุณานุรูปสืบเชื้อสายเสนาบดีเพื่อจะฝากตัวเป็นมหาดเล็กฝึกหัดการทำราชการการเคลื่อนไหวทางสังคมจึงถูกปิดกั้นโดยปริยาย
แต่เนื่องจากความจำเป็นของการที่อยู่ในสังคมยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดประตูประเทศในยุครัชกาลที่ 4 ในสนธิสัญญาเซอร์จอห์นบาวริ่ง การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาแก่ประชาชนเพื่อจะได้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ จึงเป็นนโยบายสำคัญของรัฐโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระราชดำริให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสดูแลเรื่องดังกล่าวปรับเปลี่ยนวัดให้เป็นโรงเรียนเพราะเป็นสถานที่ขยายการศึกษาได้เร็วและทั่วถึง
ขณะเดียวกัน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกราบบังคมทูลฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับผลิตข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถาบันการศึกษาโดยพระราชทานนามว่า"โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" จนกลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ในขณะเดียวกัน ช่วงนี้ก็มีความรู้ใหม่ๆ ไหลเข้ามาจากทางประเทศตะวันตก เช่น วิชาการแพทย์สมัยใหม่ ภาษาต่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ การเข้ามาของพวกมิชชันนารีได้นำไปสู่การเกิดโรงเรียนที่สอนศาสนา พร้อมๆ กับการสอนภาษาอังกฤษและวิชาสามัญทั่วไปขึ้น บุคคลที่สำคัญที่สุดคือ ฟ. ฮีแลร์ ซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 20 ปี และพำนักอยู่ในประเทศไทยประมาณ60 ปี ท่านผู้นี้คือผู้ซึ่งมีส่วนในการสร้างโรงเรียนมิชชันนารีสำคัญๆขณะเดียวกัน ชนชาวจีนซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารก็ได้รวมกลุ่มกันตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนขึ้นทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย โรงเรียนจากมิชชันนารีและโรงเรียนจีนจึงอยู่คู่กับสถาบันการศึกษาของไทย ซึ่งเริ่มต้นความรู้ให้อ่านออกเขียนได้เลขคณิต และวิชาที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งกระทรวงธรรมการหรือต่อมาคือกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการศึกษา โดยเสนาบดีคนแรกคือกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กระทรวงศึกษาฯ ที่ตั้งขึ้นมานั้นจุดประสงค์หลักคือการทำให้คนทั่วราชอาณาจักรสยามเรียนรู้ภาษาไทยราชการ ขณะเดียวกันก็มีการใช้หลักสูตรที่ทำให้คนเผ่าต่างๆ 50 กว่าเผ่าพันธุ์ ถูกผสมผสานกลมกลืนเป็นคนที่ใช้ภาษาเดียวกันในการเรียนการสอน สามารถสื่อสารกันได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างชาติ (Nation) ส่วนกระทรวงมหาดไทยเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างอำนาจรัฐ (State)
แต่เนื่องจากโรงเรียนจีนถูกมองว่าเป็นที่เพาะลัทธิคอมมิวนิสต์รวมทั้งขัดขวางกระบวนการผสมผสานกลมกลืนให้คนไทยเชื้อสายจีนรับวัฒนธรรมไทย จึงมีมาตรการจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามบังคับให้โรงเรียนจีนสอนภาษาจีนวันละหนึ่งชั่วโมง และถูกปิดด้วยการกระทำที่ผิดกฎระเบียบเป็นจำนวนมาก โรงเรียนจีนเหล่านั้นยังแอบสอนเกินหนึ่งชั่วโมง เมื่อเจ้าหน้าที่ไปตรวจก็มีการนัดแนะกันล่วงหน้า ในรายงานของเจ้าหน้าที่ก็มักจะลงว่า "เรียบร้อย"หมายความว่าไม่มีการทำผิดระเบียบ อันเป็นที่มาของคำว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน"
ในส่วนของการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ในปี 2477 ก็มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น ซึ่งเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นในการฝึกหัดผู้ที่จะรับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ รวมทั้งการเป็นผู้พิพากษา การเป็นนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำรวจ กล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นฐานการสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่แข่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ขณะเดียวกันก็มีมหาวิทยาลัยศิริราชมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเกษตร ก่อนที่จะมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลาฯลฯ
ในส่วนของโรงเรียนมัธยมโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งเป็นของมิชชันนารีได้แก่ อัสสัมชัญบางรัก เซนต์คาเบรียล กรุงเทพคริสเตียน มาแตร์เดอี เซนต์โยเซฟ ฯลฯ ส่วนของรัฐได้แก่ สวนกุหลาบเทพศิรินทร์ ราชินี เป็นต้น โรงเรียนเอกชนได้แก่ อำนวยศิลป์ ไพศาลศิลป์ สารสิทธิ์ ศิริศาสตร์ ศิริทรัพย์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เริ่มเกิดโรงเรียนพาณิชย์ขึ้น ที่เป็นของฝรั่งได้แก่ อัสสัมชัญพาณิชย์ (ACC)ขณะเดียวกันก็มีพาณิชย์พระนคร ตั้งตรงจิตรพณิชยการ พาณิชย์ธนบุรี นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนของเหล่าทัพและของตำรวจ
สิ่งที่พัฒนาตามมาก็คือ โรงเรียนกวดวิชาสำหรับผู้ซึ่งไม่มีเวลาเรียนตามปกติ ตามคำกล่าวของอาจารย์เพทาย อมาตยกุล ที่กล่าวว่า "โตแล้วเรียนลัดดีกว่า" โรงเรียนกวดวิชาที่ดังที่สุดคือ วัดสุทัศน์วัดมหรรณพารามวรวิหาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาด้านภาษา
ความต้องการเรียนหนังสือของคนรุ่นใหม่ได้นำไปสู่การเติบโตของโรงเรียนภาคเอกชน โรงเรียนพาณิชย์ต่างๆ ที่เลียนแบบอัสสัมชัญพาณิชย์เกิดขึ้นอย่างดาษดื่น จากผู้ซึ่งเคยศึกษาจากสถาบันดังกล่าวและเริ่มเกิดวิทยาลัยเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยกรุงเทพวิทยาลัยหอการค้า ฯลฯ ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
วิวัฒนาการการศึกษาของไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะมุ่งเน้นใช้หลักสูตรของอังกฤษ และหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เริ่มถูกอิทธิพลของอเมริกัน การออกเสียงและการสะกดตัวภาษาอังกฤษถูกเปลี่ยนแปลง และที่รุนแรงที่สุดคือผู้ซึ่งจบจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาของไทยจนมีผลมาถึงปัจจุบัน
ข้อสังเกตข้อหนึ่งคือ วิทยาลัยครูต่างๆ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อการฝึกครูรวมทั้งวิทยาลัยการศึกษาก็ได้แปรเปลี่ยนรูปเป็นมหาวิทยาลัยจนหมดสิ้นในปัจจุบัน รายละเอียดต่างๆ ยังมีอีกมาก แต่ที่ยกมาให้เห็นโดยสังเขปนี้เพื่อให้เห็นว่า วิวัฒนาการการศึกษาของไทยมีความเป็นมายาวนาน มีแหล่งความรู้จากหลายแหล่ง ทั้งจากอินเดีย จีนอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยจุดประสงค์หลักสูตรเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และนโยบายของรัฐ ตลอดทั้งสถานการณ์ทางการเมืองสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้น
ตัวอย่างเช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คือสถาบันที่เกิดขึ้นในยุคการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น ส่วนมหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทดแทนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยเปิดมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด มาในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งกำลังแปรสภาพจากหน่วยงานของรัฐซึ่งเทียบเท่าหนึ่งกรม กลายเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบซึ่งเป็นผลมาจากเงื่อนไขที่กำหนดมาจากสถาบันการเงินที่ให้ประเทศไทยกู้เงินโดยมีเงื่อนไขผูกไว้
การศึกษาคือตัวแปรสำคัญในการสร้างคน คนคือตัวจักรสำคัญในการสร้างสังคม รัฐมนตรีที่ดูแลการศึกษาจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ประวัติศาสตร์และสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก จึงถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติยิ่งในสหรัฐอเมริกา เพราะอนาคตของประเทศชาติขึ้นอยู่กับการศึกษาและวัฒนธรรม ตราบเท่าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง อนาคตประเทศชาติย่อมไม่สามารถจะก้าวไปในทิศทางที่พึงประสงค์ได้ เพราะการศึกษาคือการสร้างคน คนสร้างสังคม สังคมก่อขึ้นมาเป็นชาติ--จบ--

ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต
ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
www.dhiravegin.com
likhit@dhiravegin.com

ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน

Sunday, July 4, 2010

เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์


สำหรับงานบางประเภทที่ต้องมีการป้อนข้อมูลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร หรือสำนักงานประจำสายการบิน งานเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลเข้าระบบ computer มีความจำเป็นมาก และ เป็น
งานที่เสียเวลาและแรงงาน งานป้อนข้อมูลจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย
ทางด้านอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า Input แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งไม่รวมถึง input ด้วยระบบสื่อสารข้อมูล
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนด้วยตัวอักษร นั่นนั่นคือ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard ซึ่งจะอ่านตัวอักษรและตัวเลขจากแป้นพิมพ์ตามที่ผู้พิมพ์กด เข้าไปเก็บไว้ใน Computer การป้อนข้อมูลเข้าแบบตัวอักษรอีกแบบหนึ่ง คือประเภทบัตรเจาะรู เครื่องอ่านบัตรเจาะรูจะอ่านเป็นรหัส อักขระตามที่ผู้ใช้เจาะไว้ แต่ปัจจุบันบัตรเจาะรูไม่ได้ใช้กันแล้ว

บัตรเจาะรู

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง การป้อนแบบนี้มีลักษณะเป็นการป้อนแบบ Graphic อุปกรณ์ที่เด่นชัดคือ Mouse ปากกาแสง Joystick Trackball

กลุ่มที่ 3 เป็นการอ่านข้อมูลเป็นรูปภาพเข้ามาเก็บใน computer ได้แก่พวก Scanner , OCR หรือเครื่องอ่านตัวอักษรจากภาษาที่แสดง ได้ (ปัจจุบัน OCR ในภาษาอังกฤษได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ สำหรับภาษาไทย
ยังไม่ประสพผลสำเร็จ) เครื่องอ่านรหัสแถบ (Bar code)

กลุ่มที่ 4 เป็นการป้อนข้อมูลด้วยเสียงได้แก่ระบบการจดจำเสียงพูด (Speech recognition) เป็นระบบทบทวนและตรวจสอบเสียงปัจจุบันยังไม่ได้ผลพอที่จะนำมาใช้งานอย่างจริงจัง เนื่องจากเสียงของคนแต่ละคนต่างกัน
แม้แต่คนคนเดียวกันพูดสองครั้งยังไม่เหมือนกัน จึงยังนำมาใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยตัวตรวจจับพิเศษ เช่น Switch, Sensor วัดด้าน อุณหภูมิ ความดัน แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาลอกเป็น ดิจิตอล การป้อนข้อมูลแบบอัตโนมัตเป็นระบบ ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ

แป้นพิมพ์ อุปกรณ์อินพุตขั้นพื้นฐาน
การพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกมี หลักฐานยืนยันว่ามีผู้ประดิษฐ์มาแล้วเกือบ 300 ปี แต่เครื่องพิมพ์ดีดที่ได้รับการจดทะเบียนและบันทึกหลักฐานไว้โดย เ?นรี่ มีล เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2257 พัฒนาการของพิมพืดีดก็ก้าวหน้าขึ้นมาเป้นลำดับ ครั้นถึงยุคสมัยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ดีดจึงได้รับการนำมาใช้เป้นอุปกรณ์ ป้อนตัวอักษรให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยุคแรกๆโดยเริ่มจากการป้อนผ่านบัตรเจาะรูแล้วให้เครื่องอ่านบัตรเจาะรูอีกครั้งหนึ่ง การป้อนข้อมูลตัวอักขระในยุคแรกจึงเน้นการป้อนข้อมูลเข้าด้วยรหัส ทางบริษัทไอบีเอ็มได้กำหนดรหัสตามโซน
ของรูที่เจาะ ซึ่งเรียกว่ารหัสเอปซีดิกมาจนถึงปัจจุบัน

ความเป็นมาในการหาวิธีป้อนข้อมูลด้วยวิธีอื่น
การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยแป้นพิมพ์ตัวอักขระยังสร้างความยุ่งยากต่อผู้ใช้ในบางเรื่อง เช่น ต้องจดจำข้อความที่เป็นคำสั่ง การป้อนคำสั่งจะต้องใช้ตัวอักษรหลายตัวเรียงต่อเนื่องกัน ทำให้เสียเวลา ระยะหลังจึงมีคนคิดพยายามหา
วิธีการป้อนข้อมูลในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะสัญลักษณ์ทางกราฟิก เนื่องจากสามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ดีกว่าตัวอักษรเสียอีก ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ ในสมัยปัจจุบันจึงหันมาใช้ระบบ GUI-Graphic User Interface กันมาก และมีแนวทางที่จะแพร่หลายต่อไปอีกในโอกาสข้างหน้า
จุดเริ่มต้นของความพยายามหาอุปกรณ์อินพุตมาช่วยงาน โดยเฉพาะในระบบของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีมากกว่า 30 ปีแล้ว และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากปีค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยอินพุตแบบต่างๆ ขึ้นมาใช้กันมาก

กระดาษสเก็ตช์เป็นจุดเริ่มต้น
กระดาษสเก็ตช์ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กับกราฟิกรุ่นแรก จุดเริ่มต้นของกระดาษสเก็ตช์เริ่มจากนายอิเวน อี. ซูเธอร์แลนด์(Ivan E. Sutherland) ได้ออกแบบสร้างขึ้นในขณะที่เขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่เอ็มไอทีเมื่อ
ปีค.ศ. 1962 และเสนอวิทยานิพนธ์ด้วยการใช้กระดาษสเก็ตช์เป็นอุปกรณ์อินพุตสำหรับระบบกราฟิกเพื่อการเขียนรูป ระบบกราฟิกที่ใช้นี้ได้รับการพัฒนาบนเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ TX-2 ของเอ็มไอที ดังรูป



ในระหว่างนั้นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กำหนดรูปภาพทางกราฟิกมีให้ใช้แล้วคือ ปากกาแสง แต่ปากกาแสงมีข้อจำกัดคือ ใช้กำหนดจุด การลากเส้น แต่กระดาษสเก็ตช์ยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก เช่น กำหนดขนาดของเส้น ความสัมพันธ์ของรูปกราฟิก ซูเธอร์แลนด์ได้พัฒนาระบบกราฟิกที่ใช้หลักการของวินโดว์มีการขยายหรือย่อภาพได้

เรื่องราวเกี่ยวกับเม้าส์
ช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 การใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่รู้จักกันดีคือปากกาแสง การใช้ปากกาแสงจะต้องชี้ตำแหน่งลงไปบนจอภาพ และต้องยกออกจากจอภพไปมา ทำให้ยุ่งยากต่อการใช้และที่สำคัญคือเทคโนโลยีของปากกาแสงต้องรอให้จอภาพสแกน
จุดสว่างวิ่งไปทั้งจอเพื่อซิงก์กับตัวรับที่ปากกา จึงต้งอาศัยเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนและทำให้มีราคาแพง
ในปี ค.ศ. 1964 Engelbart ได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ ปากกาแสง จอยสติ๊ก ตลอดจนอุปกรณ์ลากเส้นกราฟที่ต่อกับโพเทนซิโอมิเตอร์ เขาพบว่าอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเหล่านั้นยังใช้งานได้ไม่ดีนักโดยเฉพาะการที่จะใช้ชี้ตำแหน่งและลากเส้นบางอย่างไปด้วยกัน พลันเขาก็นึกไปถึงอุปกรณ์ที่เขาใช้ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นในปี ค.ศ. 1940 ที่ใช้ในการวัดพื้นที่ที่เรียกว่า พลานิมิเตอร์(planimeter) ซึ่งประกอบด้วยแขนสองแขน พร้อมลูกล้อที่ติดกับแขน ลูกล้อนั้นจะเลื่อนหมุนไปตามแกนคือ แกน X และ
แกน Y ในขณะที่เลื่อนปลายแขนไป และหากเขาติดโพเทนซิโอมิเตอรไว้ที่ลูกกลิ้งที่หมุนบอกตำแหน่งแกน X และ แกน Y เขาก็น่าจะทำอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งให้กับคอมพิวเตอร์ได้และจุดนี้เองเป็นต้นเหตุให้เกิดความคิดในการออกแบบเมาส์ที่มีใช้ในยุคต่อมา
เมาส์ตัวแรกยังมีขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้แกนหมุนของโพเทนซิโอมิเตอร์ การหมุนนี้จะเป็นสัดส่วนของการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตามแกน X และแกน Y การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปมา
ในระบบคอมพิวเตอร์จึงทำได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถควบคุมการทำงาน การตรวจสอบและใช้ในการชี้ตำแหน่งได้ง่าย

Wednesday, June 16, 2010