Friday, August 20, 2010

การบ้านวิชานวัตกรรม

1. ชื่อ นวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา เมื่อใด

ตอบ นวัตกรรม Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

- ประเภทนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา

2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน

4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล

5. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา

6. นวัตกรรมด้านการประเมินผล

- ผู้พัฒนา

ผู้ที่พัฒนานวัตกรรมต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R)



2. ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

ตอบ “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

- วัตถุประสงค์ในการพัฒนา

1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมในด้านการเรียนการสอน

1.1 การระบุปัญหา

1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย

1.3 การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ

1.4 การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม

1.5 การทดลองใช้

1.6 การเผยแพร่

1.7 การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น



3. ขั้นตอนการพัฒนา

ตอบ 1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม

2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย

3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม

3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน

4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม

5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น

6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ

7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง

8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7

9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย

10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม



4. ลักษณะของนวัตกรรม

ตอบ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้น มาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

4. เป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการทดลอง



5. ผลการนำไปทดลองใช้

ตอบ ผลการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ในการศึกษานั้นเป็นการนำเอานวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา ว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างต้องระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด เครื่องมือที่ใช้วัดได้แก่ แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ และกำหนดแนวทาง สรุปผลการทดลองใช้



6. ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ตอบ - ข้อดีเด่นของนวัตกรรม นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการพัฒนาในการเรียนการสอนและผลสำริดที่ดีต่อผู้เรียนและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ

- ข้อจำกัดของนวัตกรรม

1. ข้อจำกัดทางด้านบุคลาการ ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ที่ดีพอ หรือไม่เข้าใจกระบวนการในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะ ไม่มีความรู้ดีพอ หรือ ไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่

2. ความจำกัดทางด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

3. การขาดการสนับสนุนที่เพียงพอจากสถานศึกษา

- ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน นวัตกรรมเป็นทรัพยากรที่มีคูณค่ามาหาศาล เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด นำไปใช้ในการพัฒนาระบบของการศึกษา เพราะระบบการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นนวัตกรรมเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่พัฒนาระบบการศึกษา แต่ยังครอบคลุมทุกหน่อยงานในสังคม ดังนั้นเราต้องตระหนักถึงคุณค่าของนวัตกรรมเทคโนโลยีให้มากที่สุดและใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธี

No comments:

Post a Comment