Friday, August 20, 2010

ตัวอย่างแผนการที่นำมาปรับปรุงใหม่

แผนการสอนที่นำมาปรับปรุงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ : ชื่อหน่วย ...................................เวลา..........ชั่วโมง
เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( องค์ประกอบของคำ , คำมูล ) เวลา ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่.................เดือน.......................พ.ศ......................
.............................................................................................................................
๑.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ท ๔.๑.๑ เข้าใจการสร้างคำไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา
๒. สาระสำคัญ
คำ มีความสำคัญกับการติดต่อสื่อในชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของคำ และรูปลักษณ์ของคำไทย เพื่อให้ทราบที่มาของการสร้างคำและสามารถนำคำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร
๓. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
๑. เข้าใจหลักการสร้างคำไทย คำ และ ความสัมพันธ์ของคำ
๔. จุดประสงค์การเรียนรู้
๒. บอกลักษณะของคำมูลได้
๓. สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๕. การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
.................................................................................................................................
๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. เสริมสร้างความรักในภาษาไทย ภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ
๒. รู้จักใช้คำได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๗. สาระการเรียนรู้
๑. องค์ประกอบของคำ
๒.รูปลักษณ์ของคำไทย ( คำมูล )
( รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก )
๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้)
๑. ทดสอบก่อนเรียน : ๒๐ นาที ครูรวบรวมกระดาษคำตอบและนำไปตรวจ แล้วแจ้งคะแนนในครั้งต่อไป
๒. : ครูพูดถึงการสร้างคำเป็นพื้นฐานของการใช้คำในภาษาไทย โดย รูปลักษณ์คำไทย มีหลายแบบ แล้วครูอธิบายถึงความสำคัญ และนำเข้าสู่บทเรียน รูปลักษณ์คำไทย
๓. : ครูแจกใบความรู้ นักเรียนศึกษาด้วยตัวเอง จากนั้นครูอธิบายประกอบใบความรู้
๔. นักเรียนสรุปข้อมูลความรู้จากใบความรู้ และตัวแทนอ่านผลการสรุปให้เพื่อนฟัง
๕. ครูแจกใบงาน ให้นักเรียนอ่านทบทวนคำสั่งให้ครูฟัง
๖. ครูตรวจสอบผลงาน จากการร่วมทำกิจกรรมของนักเรียน
๗. ครูสรุปความรู้เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( คำมูล ) ให้นักเรียนจดบันทึกไว้ในสมุด
๘. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้า รวบรวมเกี่ยวกับเรื่อง คำมูล รวบรวมพิมพ์เสนอออกเป็นชิ้นงานส่ง
๙. แบบทดสอบหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบคะแนนระหว่างการทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ
๙. การวัดผลและประเมินผล
๙.๑ ผู้ประเมิน
๑. ครูผู้สอน
๒. นักเรียน
๓. ผู้ปกครอง
๙.๒ ประเด็นการประเมิน
๑. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
๒. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
๓. ผลงาน
๙.๓ วิธีการวัดและประเมินผล
๑. สังเกตความถูกต้องในการตั้งคำถาม และการตอบคำถาม
๒. ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๓. สังเกตการร่วมกิจกรรม
๔. ตรวจผลงาน
๙.๔ เครื่องมือการประเมิน
๑. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๒. แบบสังเกตการร่วมกิจกรรม
๓. แบบการตรวจผลงาน
๙.๕ เกณฑ์การวัดและประเมินผล
๑๐. ถ้ามีนักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูสอนซ่อมเสริมให้เฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ

No comments:

Post a Comment