Monday, August 23, 2010

E-office

1. E-office มีอะไรบ้าง
1.1 ระบบปฏิทินงานออนไลน์
1.2 ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า
1.3 ระบบ Call Center บริการหลังการขาย
1.4 ระบบเอกสาร ออนไลน์
1.5 ระบบขาย
1.6 ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์,จองห้องประชุม,รถยนต์
1.7 ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
1.8 ระบบจัดเก็บไฟล์
1.9 ระบบ Knowledge Base
1.10 ระบบจัดการสินค้า
1.11 ระบบจัดซื้อ
1.12 ระบบส่งSMS


2. ประวัติความเป็นมา E-office
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-office) คือการรับส่งเอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หนังสือเวียนต่าง ๆ ในแต่ละวันจะมีจำนวนมาก การดำเนินการดังกล่าวต้องมีการใช้ระบบทำสำเนากระดาษ ถ่ายเอกสาร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการดำเนินงาน อีกทั้งการรับส่งด้วยกระดาษต้องใช้คนส่ง เป็นการเดินทางของหนังสือที่ล่าช้า ยิ่งอยู่ระหว่างสาขาวิทยาบริการฯ ยิ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก การดำเนินการงานสำนักงานที่เกี่ยวกับเอกสารจึงสามารถก้าวมาใช้งานแบบ e-Office ได้ โดยการใช้เครือข่ายที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการเชื่อมโยง ทุกคณะ ทุกหน่วยงาน ทุกอาคาร ของมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายนี้ ขณะเดียวกันหน่วยงานทุกหน่วยงานมีความรู้ความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อเพื่อการรับส่งข้อมูลข่าวสาร จึงควรใช้ช่องทางการสื่อสารนี้เพื่อดำเนินการรับส่งเอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หนังสือเวียนต่าง ๆ ให้กับทุกหน่วยงานได้ การดำเนินการ e-Office ต้องเน้นในเรื่องความทันสมัย ความรวดเร็ว ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นงานระบบ e-Office ที่กำลังจะนำมาใช้จะเริ่มจากการนำเสนอทางเดียวในลักษณะหนังสือเวียนก่อน(ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสารแบบ PDF) ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้และนำเอาเรื่อง Security มาใช้ประกอบด้วย เพื่อนำไปสู่การนำเสนอให้มีการนำเอาลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) และวิธีการตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงนามต่างๆ


3. จุดประสงค์
จุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง


4. วัตถุประสงค์ของ E-office
เพื่อลดการใช้กระดาษตามนโยบายการบริหารงานเอกสารแบบ eOffice แล้วหันมาใช้ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์แทน การพัฒนาระบบ eoffice จะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาคมโลกทุกคน ทุกคนคือคนสำคัญที่จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของตัวเองตั้งแต่จุดเริ่มต้นรับเอกสารต้องแปลงเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำเข้าระบบ ส่วนผู้รับเอกสารที่ขอรับแต่กระดาษต้นฉบับแบบเดิมก็คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองโดย login เข้ามารับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบ eOffice แทน


5. เป้าหมายของ E-office
เป้าหมายของการใช้ระบบ eOffice จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับประชาคมทุกคนที่เป็นผู้ใช้ จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้เอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น เริ่มเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่วันนี้เรามีช่องทางหลายช่องทางในการสื่อสารอยู่แล้ว เช่น ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบค้นหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเมลล์ ระบบข่าวทาง Intranet เป็นต้น ลองเข้ามาใช้ดูก่อน ในอนาคตอันใกล้เราจะใช้ระบบ eOffice ร่วมกัน ถึงวันนั้นทุกคนจะได้ไม่รู้สึกว่าเราปรับตัวไม่ได้ หรือสิ่งนี้ทำไม่ได้ หรือเป็นของใหม่ยังไม่คุ้น


6. ข้อดี - ข้อเสียของ E-office
ข้อดี ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)
1. ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร
2. เพิ่ม ขีดความสามารถของพนักงานในการซื้อบ้าน ที่อยู่ไกลจากตัวเมืองได้ เนื่องจากบ้านที่อยู่
ในเมืองนั้นมีราคาแพง ซึ่งจะลดปัญหาเรื่องการเดินทาง
3. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการสามารถควบคุมตนเองได้
4. อนุญาตให้พนักงานที่มีความสามารถ และรอบรู้สามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้
5. บริษัทสามารถติดต่อกับตลาดและบริษัทต่างประเทศนอกเวลาทำงาน
6. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่างๆภายในสำนักงาน
7. การใช้เครื่องจักรแทนการปฏิบัติงานของมนุษย์เป็นการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานที่มนุษย์ทำ
อยู่ใหม่
8. ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
9. ประหยัดสถานที่จัดเก็บเอกสาร
10. เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บรวบรวมและค้นหา ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
11. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น ด้านแรงงาน ด้านเครื่องมือ และด้านสถานที่จัดเก็บเอกสาร
12. ปรับปรุงการปฏิบัติงานเป็นแบบโลกาวิวัฒน์ หรือสำนักงานเสมือนจริง (Virtual Office)
ลดขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในการจัดทำต้นฉบับ จัดทำสำเนา และทำลายเอกสาร
13. ลดภารกิจในการเดินทางไปประชุม มาเป็นการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์
14. ลดปัญหาการจัดทำ จัดเก็บเอกสารซ้ำซ้อน โดยใช้หลักการสำนักงานปราศจากเอกสาร
(Paperless Office)

ข้อเสีย ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)
1. ลดการติดต่อแบบตัวต่อตัว (face-to-face) ระหว่างพนักงานในบริษัท
2. ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าสูญเสียอำนาจการควบคุมลูกน้อง
3. การใช้ระบบอัตโนมัติในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเมื่อระบบการควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานผิดพลาด
4. มี การเปลี่ยนแปลง วิธีปฏิบัติงานอาจทำให้พนักงาน ไม่ยอมรับการ ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน และต้องการ การฝึกอบรมเพิ่มเติม
5. ผู้บริหารต้องลงทุนสูงซึ่งต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงาน ของพนักงาน


7. วิเคราะห์เหตุที่มี E-office นั้นเกิดขึ้นมาสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันอย่างไร
e-cffice สอดคล้องกับสังคมเป็นอย่างมากเพราะทำให้สังคมมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเพราะการทำงาน ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างมาก การดำเนินการ e-Office ต้องเน้นในเรื่องความทันสมัย ความรวดเร็ว ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นงานระบบ e-Office ที่กำลังจะนำมาใช้จะเริ่มจากการนำเสนอทางเดียวในลักษณะหนังสือเวียนก่อน(ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสารแบบ PDF) ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้และนำเอาเรื่อง Security มาใช้ประกอบด้วย เพื่อนำไปสู่การนำเสนอให้มีการนำเอาลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) และวิธีการตรวจสอบลายเซนต์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงนามต่างๆ

Friday, August 20, 2010

ตัวอย่างแผนการที่นำมาปรับปรุงใหม่

แผนการสอนที่นำมาปรับปรุงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ : ชื่อหน่วย ...................................เวลา..........ชั่วโมง
เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( องค์ประกอบของคำ , คำมูล ) เวลา ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่.................เดือน.......................พ.ศ......................
.............................................................................................................................
๑.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ท ๔.๑.๑ เข้าใจการสร้างคำไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา
๒. สาระสำคัญ
คำ มีความสำคัญกับการติดต่อสื่อในชีวิตประจำวันมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของคำ และรูปลักษณ์ของคำไทย เพื่อให้ทราบที่มาของการสร้างคำและสามารถนำคำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตรงตามความหมาย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร
๓. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
๑. เข้าใจหลักการสร้างคำไทย คำ และ ความสัมพันธ์ของคำ
๔. จุดประสงค์การเรียนรู้
๒. บอกลักษณะของคำมูลได้
๓. สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๕. การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
.................................................................................................................................
๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. เสริมสร้างความรักในภาษาไทย ภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ
๒. รู้จักใช้คำได้ถูกต้องตรงตามรูปลักษณ์ของคำต่างๆ
๗. สาระการเรียนรู้
๑. องค์ประกอบของคำ
๒.รูปลักษณ์ของคำไทย ( คำมูล )
( รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก )
๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้)
๑. ทดสอบก่อนเรียน : ๒๐ นาที ครูรวบรวมกระดาษคำตอบและนำไปตรวจ แล้วแจ้งคะแนนในครั้งต่อไป
๒. : ครูพูดถึงการสร้างคำเป็นพื้นฐานของการใช้คำในภาษาไทย โดย รูปลักษณ์คำไทย มีหลายแบบ แล้วครูอธิบายถึงความสำคัญ และนำเข้าสู่บทเรียน รูปลักษณ์คำไทย
๓. : ครูแจกใบความรู้ นักเรียนศึกษาด้วยตัวเอง จากนั้นครูอธิบายประกอบใบความรู้
๔. นักเรียนสรุปข้อมูลความรู้จากใบความรู้ และตัวแทนอ่านผลการสรุปให้เพื่อนฟัง
๕. ครูแจกใบงาน ให้นักเรียนอ่านทบทวนคำสั่งให้ครูฟัง
๖. ครูตรวจสอบผลงาน จากการร่วมทำกิจกรรมของนักเรียน
๗. ครูสรุปความรู้เรื่อง รูปลักษณ์คำไทย ( คำมูล ) ให้นักเรียนจดบันทึกไว้ในสมุด
๘. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้า รวบรวมเกี่ยวกับเรื่อง คำมูล รวบรวมพิมพ์เสนอออกเป็นชิ้นงานส่ง
๙. แบบทดสอบหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบคะแนนระหว่างการทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ
๙. การวัดผลและประเมินผล
๙.๑ ผู้ประเมิน
๑. ครูผู้สอน
๒. นักเรียน
๓. ผู้ปกครอง
๙.๒ ประเด็นการประเมิน
๑. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
๒. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
๓. ผลงาน
๙.๓ วิธีการวัดและประเมินผล
๑. สังเกตความถูกต้องในการตั้งคำถาม และการตอบคำถาม
๒. ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๓. สังเกตการร่วมกิจกรรม
๔. ตรวจผลงาน
๙.๔ เครื่องมือการประเมิน
๑. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
๒. แบบสังเกตการร่วมกิจกรรม
๓. แบบการตรวจผลงาน
๙.๕ เกณฑ์การวัดและประเมินผล
๑๐. ถ้ามีนักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูสอนซ่อมเสริมให้เฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ

การบ้านวิชานวัตกรรม

1. ชื่อ นวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา เมื่อใด

ตอบ นวัตกรรม Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

- ประเภทนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา

2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน

4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล

5. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา

6. นวัตกรรมด้านการประเมินผล

- ผู้พัฒนา

ผู้ที่พัฒนานวัตกรรมต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R)



2. ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

ตอบ “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

- วัตถุประสงค์ในการพัฒนา

1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมในด้านการเรียนการสอน

1.1 การระบุปัญหา

1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย

1.3 การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ

1.4 การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม

1.5 การทดลองใช้

1.6 การเผยแพร่

1.7 การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น



3. ขั้นตอนการพัฒนา

ตอบ 1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม

2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย

3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม

3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน

4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม

5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น

6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ

7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง

8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7

9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย

10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม



4. ลักษณะของนวัตกรรม

ตอบ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้น มาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

4. เป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการทดลอง



5. ผลการนำไปทดลองใช้

ตอบ ผลการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ในการศึกษานั้นเป็นการนำเอานวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา ว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างต้องระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด เครื่องมือที่ใช้วัดได้แก่ แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ และกำหนดแนวทาง สรุปผลการทดลองใช้



6. ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ตอบ - ข้อดีเด่นของนวัตกรรม นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการพัฒนาในการเรียนการสอนและผลสำริดที่ดีต่อผู้เรียนและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ

- ข้อจำกัดของนวัตกรรม

1. ข้อจำกัดทางด้านบุคลาการ ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ที่ดีพอ หรือไม่เข้าใจกระบวนการในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะ ไม่มีความรู้ดีพอ หรือ ไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่

2. ความจำกัดทางด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

3. การขาดการสนับสนุนที่เพียงพอจากสถานศึกษา

- ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน นวัตกรรมเป็นทรัพยากรที่มีคูณค่ามาหาศาล เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด นำไปใช้ในการพัฒนาระบบของการศึกษา เพราะระบบการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นนวัตกรรมเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่พัฒนาระบบการศึกษา แต่ยังครอบคลุมทุกหน่อยงานในสังคม ดังนั้นเราต้องตระหนักถึงคุณค่าของนวัตกรรมเทคโนโลยีให้มากที่สุดและใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธี